กลยุทธ์การชุมนุม ของ การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551

ยุทธศาสตร์ดาวกระจาย

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนขบวนไปที่กระทรวงการต่างประเทศ

วันที่ 5 มิถุนายน กลุ่มพันธมิตรฯ ใช้แผน "ดาวกระจาย" ซึ่งสุริยะใส กตะศิลา เคยกล่าวว่า จะจัดมวลชนเป็นกลุ่ม ๆ ไปทวงถามความคืบหน้าในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเอาผิดระบอบทักษิณ โดยสถานที่ที่คาดว่าจะไป ได้แก่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กระทรวงมหาดไทย และทำเนียบรัฐบาล[39] ยุทธศาสตร์ดาวกระจายนี้กลุ่มพันธมิตรฯ เคยใช้มาตั้งแต่การชุมนุมในปี 2549 ซึ่งนับเป็นกลไกหนึ่งของการบริหารจัดการ เพื่อให้ผู้ชุมนุมมีการเคลื่อนไหวบ้าง ไม่ให้รู้สึกว่านิ่งเกินไป เงื่อนไขหลักของยุทธศาสตร์ดาวกระจายอยู่ที่การควบคุมผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นเรื่องประสบการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรฯ เคยพิสูจน์มาแล้วในครั้งนั้นโดยไม่มีการปะทะหรือต้องเสียเลือดเนื้อ[40]

วันนั้น สุริยะใส กตะศิลาและผู้ร่วมชุมนุมประมาณ 300 คนเดินทางไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด แล้วยื่นจดหมายถึงชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด เพื่อทวงถามความคืบหน้าการสั่งฟ้องคดีทุจริตของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพวก[41] นอกจากนี้ ยังได้เคลื่อนขบวนมุ่งหน้าสู่กระทรวงมหาดไทย เพื่อยื่นหนังสือถึงร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ดูแลและแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่าการโต้ตอบทางการเมือง[42] ซึ่งการดาวกระจายครั้งนี้เป็นไปตามคำแนะนำจากนักธุรกิจและนักวิชาการที่เข้าร่วมกับพันธมิตรฯ ว่า ต้องมีการเคลื่อนไหวกดดันเพื่อทวงถามความคืบหน้าในคดีที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะเกรงว่าจะมีความล่าช้าจนเกิดการแทรกแซงในกระบวนการยุติธรรม โดยมีตัวอย่างให้เห็นแล้ว คือ กรณีของสุนัย มโนมัยอุดม[43] เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งถูกสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นสั่งโยกย้าย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[44]

การเคลื่อนขบวนของกลุ่มพันธมิตรฯ หลังจากดาวกระจายไปสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม

โดยจุดมุ่งหมายของยุทธศาสตร์ดาวกระจายมักจะมุ่งเน้นเรื่องที่เกี่ยวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่

วันพุธที่ 18 มิถุนายน 2551 ได้เคลื่อนขบวนไปชุมนุมหน้ากระทรวงการต่างประเทศเพื่อขับไล่นพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร เนื่องจากไม่ยอมเปิดเผยแผนที่ให้ประชาชนได้รับรู้ หลังจากตกลงร่วมกับประเทศกัมพูชาไปก่อนหน้านี้[52][53][54]

นอกจากนี้ กลุ่มพันธมิตรฯ ยังเคลื่อนขบวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น การดาวกระจายไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อเรียกร้องให้ประธาน กกต. ตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบคำร้องทุจริตเลือกตั้งที่ถูกยกกว่า 700 คดี และให้ตรวจคำแถลงปิดคดีใบแดง “ยงยุทธ ติยะไพรัช” ด้วยตัวเอง รวมทั้ง ยังให้กำลังใจ กกต. 3 คน คือ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง และนายสุเมธ อุปนิสากร กรรมการการเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรฯ ยังกล่าวว่า นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้งอีกคนหนึ่ง มีพฤติกรรมที่แสดงออกเข้าข้างพรรคพลังประชาชนในทุกกรณี ตลอดจนอยู่ในฐานะที่กำกับดูแลเรื่องฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่บังอาจนำเสนอหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลฎีกานั้น ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่งโดยทันที,[55] การดาวกระจายไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อทวงถามความคืบหน้าของคดีความที่มีคนในรัฐบาลเป็นผู้ต้องหาที่ยังคั่งค้างอยู่ รวมถึงสอบถามความคืบหน้าของคดีความที่เกี่ยวกับกลุ่มพันธมิตรฯ,[56][57][58] การดาวกระจายไปยังอาคารสำนักงานใหญ่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อทวงคืน ปตท. จากตลาดหลักทรัพย์กลับคืนสู่ประชาชน[59] เป็นต้น

ยุทธการสงคราม 9 ทัพ

เส้นทางการเคลื่อนขบวนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจากสะพานมัฆวานรังสรรค์เข้าสู่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ในการเคลื่อนการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ไปยังบริเวณทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายนนั้น กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ใช้ชื่อการเคลื่อนการชุมนุมครั้งนี้ว่า "ยุทธการสงคราม 9 ทัพ" โดยได้กำหนดให้เคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุมไปใน 9 เส้นทาง โดยใช้ถนนรอบทำเนียบรัฐบาล ได้แก่

ซึ่งการเคลื่อนกลุ่มผู้ชุมนุมในแต่ละจุดนั้น แกนนำพันธมิตรฯ ได้แก่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย และนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ จะประจำอยู่ตามแต่ละจุดซึ่งไม่มีการเปิดเผยและจะใช้วิธีการรุกคืบไปเป็นระยะ ๆ โดยกำหนดเวลาการเคลื่อนขบวนของกลุ่มผู้ชุมนุมในแต่ละจุดจะไม่การกำหนดเวลาที่ตายตัว แต่จะปล่อยให้เป็นอิสระของแกนนำแต่ละจุดที่จะเป็นผู้กำหนดและตัดสินใจเอง [60][61]

กลุ่มพันธมิตรฯ เริ่มเคลื่อนขบวนปิดล้อมที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อขับไล่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช [62] ซึ่งขบวนผู้ชุมนุมภายใต้การควบคุมของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง สามารถฝ่าการสกัดกั้นของตำรวจเข้ายึดพื้นที่แยกนางเลิ้งสำเร็จ พร้อมประกาศจะเคลื่อนขบวนเข้าพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลในส่วนขบวนของนายสมศักดิ์ โกศัยสุข ได้เคลื่อนขบวนถึงบริเวณแยกวังแดงใกล้คุรุสภา[63] ด้าน นปก. ได้นำกลุ่มผู้ชุมนุมของตนและกลุ่มจักรยานยนต์ปักหลักชุมนุมที่ ถนนราชดำเนินนอกหวังกดดันให้กลุ่มพันธมิตรฯ ยุติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ขณะที่การจราจรบริเวณรอบถนนราชดำเนินนอกเป็นอัมพาต[64] เวลาต่อมา ขบวนของนายสมศักดิ์ โกศัยสุขสามารถฝ่าด่านของตำรวจที่สกัดไว้บริเวณแยกมิสกวันและมุ่งหน้านำกลุ่มผู้ชุมนุมไปสมทบกับกลุ่มของพลตรีจำลองที่แยกนางเลิ้งจนสำเร็จ[65] จนกระทั่ง เวลาประมาณ 15.30 น. พันธมิตรจึงประกาศชัยชนะในการยึดพื้นที่ทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ[66]

ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า

ผู้ชุมนุมที่บุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ในการเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม นั้นใช้ชื่อว่า "ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า" โดยแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศว่าปฏิบัติการครั้งนี้เป็นสงครามครั้งสุดท้ายไม่ชนะไม่เลิก ซึ่งเวลาในการเคลื่อนขบวนนั้นจะไม่ระบุจนกว่าอีก 1 ชั่วโมงจะเคลื่อนขบวน โดยได้เตรียมทัพหน้า ทัพหลวง ทัพน้อย และ ทัพพิสดาร เอาไว้ และการปฏิบัติการครั้งนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน แต่หากไม่สำเร็จก็ได้เตรียมแผนสำรองไว้แล้ว [67]

สำหรับปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า แกนนำพันธมิตรฯ ได้แบ่งมวลชนออกเป็นหลายส่วน โดยแกนนำพันธมิตรฯ ส่วนหนึ่งได้ใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจายโดยนำมวลชนกระจายไปตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และอีกส่วนหนึ่งจะอยู่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์และโดยรอบทำเนียบรัฐบาล ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้เริ่มเข้าปิดล้อมบริเวณรอบทำเนียบรัฐบาล ทั้งด้านถนนพิษณุโลกและฝั่งกระทรวงศึกษาธิการ ด้านสะพานอรทัย บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐและด้านสะพานเทวกรรมรังรักษ์ ตั้งแต่เช้ามืด[68] และปิดล้อมประตูเข้า-ออกทำเนียบรัฐบาลทั้ง 8 ประตู ในช่วงบ่ายกลุ่มผู้ชุมนุมได้พังประตูเหล็กด้านตรงข้ามกระทรวงศึกษาธิการและทยอยเดินเท้าจากสะพานมัฆวานรังสรรค์เข้าไปรวมตัวกันบริเวณสนามหญ้าด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ซึ่งผู้ชุมนุมบางส่วนได้ปีนเข้าสู่ทำเนียบรัฐบาลทางสะพานชมัยมรุเชษด้วย หลังจากนั้น แกนนำพันธมิตรฯ ที่เคลื่อนขบวนโดยใช้ยุทธศาสตร์ดาวกระจายเริ่มทะยอยเข้าสู่ทำเนียบและประกาศชัยชนะที่สามารถเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลได้สำเร็จ[69][70][71]

ปฏิบัติการม้วนเดียวจบ

แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ มีมติให้จัดการชุมนุมใหญ่อีกครั้งโดยเรียกว่า ม้วนเดียวจบ ปฏิบัติการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ขึ้นเวทีขอแรงจากกลุ่มผู้ชุมนุมให้เดินทางมายังทำเนียบรัฐบาลในเวลา 04.00 น. เพื่อจะกระจายตัวไปตามที่ต่าง ๆ ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งยังไม่เป็นที่เปิดเผยว่าจะให้ทำอะไรบ้าง แต่ก่อนหน้านั้นได้มีผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเดินทางไปยังสนามบินดอนเมือง และเข้ายึดพื้นที่ของสนามบินเพื่อไม่ให้คณะรัฐมนตรีใช้สถานที่เป็นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้

ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน กลุ่มพันธมิตรฯ ประมาณ 1,000 คน เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่ง โดยมีการตั้งแถวสกัดกั้นของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 200 - 300 นาย แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่เกรงว่าจะเกิดความรุนแรงจึงได้ถอยร่นมาเรื่อย ๆ จนถึงตัวอาคารและทำการชุมนุมอยู่ด้านนอกอาคารผู้โดยสาร ผู้ชุมนุมได้ทยอยเดินทางเข้ามาสมทบมากขึ้นประมาณ 20,000 คน[72] ทำให้การเดินทางทางอากาศไปสู่ท่าอากาศยานนานาชาติอื่น ๆ ต้องหยุดลงและสายการบินที่มีกำหนดลงจอด ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องไปลงจอด ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภาแทน

นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศหยุดทำการบินเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน หลังจากนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง พร้อมกันนี้ได้ออกคำสั่งปลด พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เนื่องจากไม่สามารถจัดการกับการชุมนุมได้และแต่งตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติเป็นผู้รักษาการแทน

ต่อมา พลตรี จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ได้ออกหนังสือเปิดผนึกถึงนายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ว่ากลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับการขึ้นลงของเครื่องบิน ขอให้เปิดท่าอากาศยานและทำการบิน โดยการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลการขึ้นลงเครื่องบินและดูแลรักษาความปลอดภัยของเครื่องบินเป็นพื้นที่ความรับผิดชอบของนายเสรีรัตน์[73]

นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์มติชน ยังรายงานว่า แกนนำพันธมิตรฯ ได้เรียกชื่อปฏิบัติการในครั้งนี้ว่า "ปฏิบัติการฮิโระชิมะ" (26 พฤศจิกายน) และในวันรุ่งขึ้น (27 พฤศจิกายน) เรียกว่า "ปฏิบัติการนะงะซะกิ" ด้วยเช่นกัน[74]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 http://special.bangkokbiznews.com/detail.php?id=23... http://www.bangkokbiznews.com/2008/06/20/news_2688... http://www.bangkokbiznews.com/2008/12/02/news_3168... http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/495111 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/773876 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/802974 http://www.bangkokpost.com/News/07Jun2008_news05.p... http://www.bangkokpost.com/breaking_news/breakingn... http://www.bangkokpost.com/topstories/topstories.p...